หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยสยาม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา : คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขาศึกษาศาสตร์

  1. ชื่อหลักสูตร
    • ภาษาไทย        : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    • ภาษาอังกฤษ    : Doctor of Philosophy in Educational Administration
  2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
    ชื่อย่อ (ไทย)  : ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Educational Administration)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Educational Administration)
  3. วิชาเอก : การบริหารการศึกษา
  4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    • แบบที่ 1.1 เน้นการทำวิจัย
      จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
    • แบบที่ 2.1 เรียนรายวิชา มีการทำดุษฎีนิพนธ์
      จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
  5. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    เพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนระดับสูงทางการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมีวัตถุประสงค์มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพ ดังนี้

    1. หลักสูตรแบบ 1.1 เน้นการทำวิจัย
      • เป็นนักวิจัยระดับชาติและนานาชาติทางการบริหารการศึกษาที่สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่  ตลอดจนการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางการบริหารการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการบริหารการศึกษา
      • เป็นผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำที่มีสมรรถนะความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา และศาสตร์แขนงอื่นๆ ในระดับสากล ที่สัมพันธ์กับการบริหารและการพัฒนาการศึกษา
      • เป็นนักวิชาการทางการบริหารการศึกษาที่มีศักยภาพสูง สามารถคิดวิเคราะห์ และมีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาองค์ความรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางการบริหารการศึกษา ในระดับชาติและนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. หลักสูตรแบบ 2.1 เรียนรายวิชา มีการทำดุษฎีนิพนธ์
      • เป็นผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้นำที่มีสมรรถภาพสูง มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา และศาสตร์แขนงอื่นๆในระดับสากล ที่สัมพันธ์กับการบริหารและการพัฒนาการศึกษา
      • เป็นนักวิชาการทางการบริหารการศึกษาที่มีศักยภาพสูง สามารถคิดวิเคราะห์ และมีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาองค์ความรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางการบริหารการศึกษา ในระดับชาติและนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      • เป็นนักวิจัยระดับชาติและนานาชาติทางการบริหารการศึกษาที่สามารถสร้างองค์
        ความรู้ใหม่ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางการบริหารการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการบริหารการศึกษา
  6. ระบบการจัดการศึกษา
    • ระบบการจัดการศึกษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละ 15 สัปดาห์ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
    • การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  7. การดำเนินการหลักสูตร
    • วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน ทำการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ
      – วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา  9.00 –   16.30 น.
    • คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและการคัดเลือก หลักสูตรแบบ 1.1  เน้นการทำวิจัย
      1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือ เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยสยามรับรอง
      2. มีประสบการณ์ในการการทำวิจัยหลังปริญญาที่ไม่ใช่ดุษฎีนิพนธ์ หรือเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยและมีประสบการณ์ทางด้านการบริหารการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี  และผลงานการทำวิจัยดังกล่าวเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ได้มาตรฐานระดับชาติ
      3. นำเสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์และแผนการดำเนินการ โดยหัวข้อที่นำเสนอจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
      4. คุณสมบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยามหลักสูตรแบบ 2.1 เรียนรายวิชา มีการทำดุษฎีนิพนธ์
        • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือ เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยสยามรับรอง
        • มีความรู้พื้นฐานทางด้านการบริหารการศึกษา (ในกรณีที่ไม่มีความรู้พื้นฐาน อาจต้องลงเรียนรายวิชาเพิ่มเติม)
        • คุณสมบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม
  8. ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสยาม ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  9. จำนวนหน่วยกิต
    • หลักสูตรแบบ 1.1 เน้นการทำวิจัย
      จำนวนหน่วยกิต  รวมตลอดหลักสูตร    60    หน่วยกิต
    • หลักสูตรแบบ 2.1 เรียนรายวิชา มีการทำดุษฎีนิพนธ์
      จำนวนหน่วยกิต  รวมตลอดหลักสูตร    60    หน่วยกิต
  10. โครงสร้างหลักสูตร
    1. หลักสูตรแบบ 1.1 เน้นการทำวิจัย    60     หน่วยกิต
      • หมวดวิชาแกน หรือวิชาเลือก (ตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา) ไม่นับหน่วยกิต
      • หมวดดุษฎีนิพนธ์  60  หน่วยกิต
    2. หลักสูตรแบบ 2.1 เรียนรายวิชา มีการทำดุษฎีนิพนธ์  60  หน่วยกิต
      • หมวดวิชาแกน 18 หน่วยกิต
      • หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
      • หมวดดุษฎีนิพนธ์  36  หน่วยกิตหมายเหตุ นักศึกษาที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่ใช่ทางการบริหารการศึกษา ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐาน เพิ่มเติมตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ
  11. รายวิชา
    หมวดวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) เป็นหมวดวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา
    751 113    หลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา 3(3-0-6)
    (Principles and Theories of Educational Administration)751 221    วิธีวิจัยทางการศึกษา  3(2-2-5)
    (Research Methodology in Education)

    หมวดวิชาแกน  18   หน่วยกิต
    900 301   สัมมนาการประยุกต์ทฤษฎีการบริหารและการจัดการการศึกษา   3(3-0-6)
    (Seminar in Application of Administration Theory and Educational Management)

    900 302   ระเบียบวิธีและสถิติขั้นสูงในการวิจัยทางการศึกษา  3(3-0-6)
    (Methodology and Advance Statistic for Educational Research)

    900 303   สัมมนาวิจัยทางการบริหารการศึกษา  3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Administration Research)

    900 304   สัมมนานวัตกรรมทางการบริหารการศึกษา  3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Administration Innovation)

    900 305   สัมมนานโยบายและการวางแผนทางการศึกษา  3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Planning and Policy)

    900 306   สัมมนาประสบการณ์วิชาชีพทางการบริหารการศึกษา 3(1-6-3)
    (Seminar in Professional Experiences in Educational Administration)

    หมวดวิชาเลือก  6  หน่วยกิต
    900 401  สัมมนาการบริหารการศึกษาในบริบทสังคมโลก 3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Administration in Global Context)

    900 402  สัมมนาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา 3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Administration Leadership)

    900 403  สัมมนาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา  3(3-0-6)
    (Seminar in Human Resource development in Educational Administration)

    900 404  สัมมนาการจัดการความรู้  3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Quality Management)

    900 405  สัมมนากลยุทธ์การนิเทศการศึกษา  3(3-0-6)
    (Seminar in Strategic Educational Supervision)

    900 406  สัมมนาการจัดการคุณภาพการศึกษา 3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Quality Management)

    900 407  สัมมนากฎหมายทางการศึกษา 3(3-0-6)
    (Seminar in Educational Laws)

    900 408  สัมมนากลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา 3(3-0-6)
    (Seminar in Strategic School Development)

    900 409  สัมมนาการบริหารการศึกษาเปรียบเทียบ 3(3-0-6)
    (Seminar in Comparative Educational Administration)

    900 410   การศึกษาอิสระทางการบริหารการศึกษา 3(0-6-6)
    (Independent Study in Educational Administration)

    หมวดดุษฎีนิพนธ์
    900 501   การสอบวัดคุณสมบัติ  (Qualifying Examination)
    900 502   ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation )

    หลักสูตรแบบ 1.1 เน้นการทำวิจัย     60  หน่วยกิต
    900 503   ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation )

    หลักสูตรแบบ 2.1 เรียนรายวิชา
    มีการทำดุษฎีนิพนธ์  36  หน่วยกิต

     

  12. อาจารย์ประจำหลักสูตร
    ลำดับที่ ชื่อ – สกุล คุณวุฒิ / สาขา
    1 รองศาสตราจารย์ ดร.นายอมรชัย ตันติเมธ Ph.D. (Education Admin.& Supervision),University of Illinois, USA.
    2 ศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ศุขปรีดี Ed.D. (Education Media),University of Northern Colorado, USA.
    3 พล.ร.ต. ดร.หญิงสุภัทรา เอื้อวงศ์ ค.ด. (การบริหารการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    4 รองศาสตราจารย์ ดร. บุญมี เณรยอด Ed.D (Supervision, Curriculum and Instruction), East Texas State University, Commerce, Texas, USA.
    5 รองศาสตราจารย์ ดร. จอมพงศ์ มงคลวนิช Ph.D (Business Administration), University of Bath, U.K.
    6 ดร. พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ ค.ด. (การอุดมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    7 ดร.กมล สุดประเสริฐ Ph.D. (Foundations of Education), Florida University, USA.
    8 ผู้ช่วยรองศาสตราจารย์ ดร. สมหมายจันทร์เรือง ค.ด. (การอุดมศึกษา) จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย
    9 ดร.ดุษฎี สีวังคำ ปร.ด. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    10 ดร.อัญชลี จันทาโภ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    11 ดร. บุญส่ง หาญพานิช ค.ด.(อุดมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  13. อาจารย์พิเศษ
    ลำดับที่ ชื่อ – สกุล คุณวุฒิ / สาขา
    1 ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน Ph.D. (บริหารการศึกษา), Mininesota University, USA.
    2 ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย Ph.D. (จิตวิทยาการศึกษา) Indiana University USA.
    3 รองศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Ph.D. (international and Development Education/Economics of Education) University of Pittsburgh, PA, USA.
    4 รองศาสตราจารย์ ดร. ทองอินทร์ วงศ์โสธร Ph.D. (บริหารการศึกษา), Mininesota University, USA.
    5 รองศาสตราจารย์ ดร. นรา สมประสงค์ Ed.D.(Education Administration). University of Northern Philippines.
    6 รองศาสตราจารย์ ดร. สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา Ph.D. (Education Psychology), Michigan State University, USA.
    7 รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณี  แกมเกตุ ค.ด. (การวัดผลและประเมินผลการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชญาพิมพ์  อุสาโห ค.ด. (พัฒนศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิน งามประโคน Ph.D. (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยปัญจาบ, อินเดีย